ประกันคุณภาพ

แสดงข้อมูลมาตรฐาน 3 มาตรฐาน 9 ด้าน 33 ภารกิจ

มาตรฐาน ด้าน ภารกิจ
มาตรฐานที่ 1 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์
ด้านความรู้ 1.1.1 การพัฒนาสมรรถนะผู้สําเร็จการศึกษาในหมวดวิชา สมรรถนะแกนกลาง
1.1.2 การประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
1.1.3 การทดสอบหรือประเมินสมรรถนะบุคคล ของผู้สําเร็จการศึกษาตามมาตรฐานอื่น ๆ (ถ้ามี)
ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ 1.2.1 การพัฒนาสมรรถนะผู้สําเร็จการศึกษาในหมวดวิชา สมรรถนะอาชีพ
1.2.2 การประกวดหรือแข่งขันทักษะวิชาชีพ
1.2.3 สมรรถนะในการเป็นผู้ประกอบการหรือประกอบ อาชีพอิสระ
1.2.4 การทดสอบหรือประเมิน สมรรถนะบุคคล ของผู้สําเร็จการศึกษาตามมาตรฐานอาชีพ
1.2.5 การมีงานทําและศึกษาต่อของผู้สําเร็จการศึกษา
1.2.6 ความพึงพอใจของหน่วยงาน สถานประกอบการ หรือ ผู้ใช้ต่อคุณภาพของผู้สําเร็จการศึกษา
ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 1.3.1 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของผู้สําเร็จการศึกษา
1.3.2 การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้สําเร็จ การศึกษา
1.3.3 การดูแลช่วยเหลือและแนะแนวผู้สําเร็จการศึกษา
มาตรฐานที่ 2 การจัดการอาชีวศึกษา
ด้านหลักสูตรอาชีวศึกษา 2.1.1 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างเป็นระบบ
2.1.2 การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ โดยการปรับปรุง รายวิชาเดิม หรือกําหนดรายวิชาเพิ่มเติม
ด้านการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา 2.2.1 การพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียน เป็นสําคัญ
2.2.2 การนําแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญไป ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.2.3 การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์สมรรถนะ วิชาชีพหรือฝึกอาชีพ
2.2.4 การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิควิธีการสอนที่ หลากหลาย
2.2.5 การบริหารจัดการชั้นเรียนที่เหมาะสม
2.2.6 การพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
2.2.7 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ด้านการบริหารจัดการ 2.3.1 การบริหารจัดการสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม
2.3.2 การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2.3.3 การบริหารจัดการระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการ บริหารจัดการสถานศึกษา
2.3.4 การพัฒนาอาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ โรง ฝึกงาน หรืองานฟาร์ม
2.3.5 การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
2.3.6 การพัฒนาแหล่งเรียนรู้และศูนย์วิทยบริการ
2.3.7 การนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาไปใช้ในการ พัฒนาสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ด้านการนํานโยบายสู่การปฏิบัติ 2.4.1 การบริหารจัดการสถานศึกษาตามนโยบายที่หน่วยงานต้นสังกัดมอบหมาย
มาตรฐานที่ 3 การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 3.1.1 การบริการชุมชนและจิตอาสา
3.1.2 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
3.1.3 การระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการเรียนการสอน
ด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ 3.2.1 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย โดยการ มีส่วนร่วมของครู ผู้เรียน หรือบุคคล ชุมชน และ องค์กรต่าง ๆ

การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 สําหรับสถานศึกษา ที่จัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านอาชีวศึกษาให้เป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 สํานักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จึงได้กําหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 จํานวน 5 ด้าน โดยกําหนดค่าน้ำหนักการให้คะแนนในแต่ละด้าน ดังนี้

  1. ด้านผู้เรียนและผู้สําเร็จการศึกษา (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ ๕๐)
  2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10)
  3. ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20)
  4. ด่านการมีส่วนร่วม (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10)
  5. ด้านปัจจัยพื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10)

 


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดจุดมุ่หมายและหลักการของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1.ระบบการประกันคุณภาพภายใน 2.ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก

  • ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
  • การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
  • ทำไมต้องมีการประเมินคุณภาพ
  • การที่เราจะทราบว่าสิ่งใดมีคุณภาพ มีขีดความสามารถในการใช้งาน ดีในระดับใดนั้น คงต้องมีการวัด และการประเมินในสิ่งนั้นๆ อย่างมีกระบวนการที่ถูกต้องเป็นสากล การศึกษาก็คล้ายกัน ต้องมีการนำเสนอให้ทราบว่ามีคุณภาพอย่างไร อะไรคือตัวชี้วัด วัดได้อย่างไร วัดได้แค่ไหน ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนวัด มีการนำเสนอโดยวิธีการอย่างไร เมื่อใด เพื่อให้ผู้ใช้มีความมั่นใจว่าสิ่งนั้นเขาสามารถ   นำไปใช้ได้ตรงตามความต้องการ และไห้ประโยชน์กับผู้ใช้มากที่สุด