ประกันคุณภาพ

การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศใช้มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 สําหรับสถานศึกษา ที่จัดการศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านอาชีวศึกษาให้เป็นไปตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 สํานักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จึงได้กําหนดเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 จํานวน 5 ด้าน โดยกําหนดค่าน้ำหนักการให้คะแนนในแต่ละด้าน ดังนี้

  1. ด้านผู้เรียนและผู้สําเร็จการศึกษา (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ ๕๐)
  2. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10)
  3. ด้านครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20)
  4. ด่านการมีส่วนร่วม (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10)
  5. ด้านปัจจัยพื้นฐาน (ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 10)

 


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำหนดจุดมุ่หมายและหลักการของการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำหนดรายละเอียดไว้ในหมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย 1.ระบบการประกันคุณภาพภายใน 2.ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายนอก

  • ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
  • การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคมโดยรวม
  • ทำไมต้องมีการประเมินคุณภาพ
  • การที่เราจะทราบว่าสิ่งใดมีคุณภาพ มีขีดความสามารถในการใช้งาน ดีในระดับใดนั้น คงต้องมีการวัด และการประเมินในสิ่งนั้นๆ อย่างมีกระบวนการที่ถูกต้องเป็นสากล การศึกษาก็คล้ายกัน ต้องมีการนำเสนอให้ทราบว่ามีคุณภาพอย่างไร อะไรคือตัวชี้วัด วัดได้อย่างไร วัดได้แค่ไหน ใครเป็นคนทำ ใครเป็นคนวัด มีการนำเสนอโดยวิธีการอย่างไร เมื่อใด เพื่อให้ผู้ใช้มีความมั่นใจว่าสิ่งนั้นเขาสามารถ   นำไปใช้ได้ตรงตามความต้องการ และไห้ประโยชน์กับผู้ใช้มากที่สุด