หลักสูตร ปวส.

หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2563

  • เรียน 2 ปี (ปีละ 2 เทอม)
  • ค่าเทอมถูก (เทอมละ 8,800 บาท) ชำระผ่าน ธ.กรุงไทย
  • ห้องเรียนติดแอร์
  • วิทยาลัยฯติดถนนใหญ่ บรรยากาศร่มรื่น มีสนามกีฬาอเนกประสงค์
  • อินเตอร์เน็ต
  • รับสมัคร 2 สาขาวิชาให้เลือกเรียน ได้แก่
    1. การตลาด
    2. เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล

เวลาเรียน

  • มี 3 ระบบเวลาให้เลือก คือ
    • รอบปกติ /รอบเช้า    = 5 วัน  (จันทร์ -ศุกร์)
    • รอบพิเศษ/รอบบ่าย  = (ติดต่อวิทยาลัยฯ)
    • รอบค่ำ = (ติดต่อวิทยาลัยฯ)

8 ทักษะที่เด็กอาชีวะยุคดิจิทัลต้องมี
1. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาได้
2. คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
3. ทำงานเป็นทีม มีภาวะผู้นำ
4. มีทักษะในการสื่อสารทั่วไปและสื่อสารเพื่ออาชีพ รวมถึงรู้เท่าทันสื่อ
5. มีความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม
6. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่ออาชีพ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
7. มีทักษะทางอาชีพ และกระบวนการเรียนรู้ต่างๆ
8. มีคุณธรรม มีเมตตากรุณา มีระเบียบวินัย


คุณลักษณะอาชีพสาขาวิชา  “การตลาด”

การเรียนการสอน

การเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติจริง กระบวนการวางแผน คิดเป็น จัดการเป็น ปฏิบัติเป็น โดยเน้นให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้ทฤษฎีใหม่และเทคโนโลยีใหม่ทางการตลาด กลยุทธ์การตลาดสมัยใหม่ เรียนรู้โดยการศึกษาดูงานในสถานประกอบการ และเชิญวิทยากรจากภายนอกมาให้ความรู้ ฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจและปฏิบัติตามแผนได้ ฝึกการแก้ปัญหาทางธุรกิจโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาดและฝึกการเป็นผู้ประกอบการรวมทั้งฝึกทักษะการพูด การสร้างความเชื่อมั่นในตนเองโดยต้องนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้ระหว่างการศึกษามาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อได้รวมทั้งปลูกฝังให้เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพอิสระ และสามารถทำงานได้ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคธุรกิจ ในตำแหน่งที่เกี่ยวกับนักการตลาด การขาย การจัดซื้อ การจัดการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการลูกค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์การตลาดระหว่างประเทศ ธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์ งานวิจัยตลาด งานสำนักงาน งานโรงแรม ร้านอาหาร สปาและความงาม มินิมาร์ท ซุปเปอร์สโตร์ ธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจขายตรง ฯลฯ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 7,670 – 9,000 บาท
  • ภาคเอกชน 6,500 – 12,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)

คุณลักษณะอาชีพสาขาวิชา  “คอมพิวเตอร์ธุรกิจ”

การเรียนการสอน

  • สื่อสารทางเทคนิคในงานอาชีพ
  • จัดการระบบฐานข้อมูลในงานอาชีพ
  • แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
  • การจัด ควบคุม และพัฒนาคุณภาพ
  • แสดงบุคลิกและลักษณะของผู้ประกอบอาชีพด้านธุรกิจ
  • ใช้ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมสำเร็จรูปในงานอาชีพ
  • ออกแบบระบบฐานข้อมูลในงานอาชีพ
  • ออกแบบและพัฒนาโปรแกรม
  • วางแผนและวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ

พนักงานภาครัฐ, นักวิเคราะห์ระบบ, โปรแกรมเมอร์, พนักงานบริษัท, เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์, เจ้าของธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์, นักพัฒนาเว็บไซต์, นักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ และอื่นๆ

รายได้ (เริ่มต้น)

  • ภาครัฐ 7,670 – 9,000 บาท
  • ภาคเอกชน 6,500 – 12,000 บาท
  • อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์

การศึกษาต่อ สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้ (2 ปี ต่อเนื่อง)


      ที่มา :  กลุ่มมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน  สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ